Partie II Des fjords de l’Est au Nord ตอน 2 จากฟยอร์ดตะวันออกสู่ทางเหนือ

Partie II Des fjords de l’Est au Nord ตอน 2 จากฟยอร์ดตะวันออกสู่ทางเหนือ

22 Février 2017  Fjords de l’Est

22 กุมภาพันธ์ 2560 ขับรถลัดเลาะชมฟยอร์ดตะวันออกแห่งไอซ์แลนด์

Et voilà la balade en voiture dans les fjords de l’est du pays ! Et ça va durer toute la journée.

วันนี้เป็นวันเราจะขับรถลัดเลาะตามฟยอร์ดทางตะวันออกของไอซ์แลนด์ ซึ่งเราใช้เวลาเกือบทั้งวัน  

Fjords de l’est ฟยอร์ดตะวันออก

Le premier arrêt est la ville de Fáskrúðsfjörður. Cette ville a une histoire importante avec la France. À la fin du XIXe siècle et jusqu’à la guerre de 1914, des milliers de pêcheurs français venaient tenter leur chance lors de longues campagnes de pêches à la morue et y faisaient commerce. Il y avait jusqu’à 5 000 français dans le Fjord (majoritairement de Paimpol, Lorient et Dunkerque). Cette ville est jumelée avec Gravelines. Les rues portent même le nom en français et nous pouvons trouver l’hôpital construit par les Français. Cet hôpital est aujourd’hui un musée, que nous avons eu l’occasion de visiter. C’est un très beau musée avec des maquettes de bateaux, des reconstitutions, des livres et des anciennes lettres de marins qui expriment les terribles conditions météo et la nostalgie du pays.

ที่แรกที่เราแวะก็คือเมือง Fáskrúðsfjörður เป็นเมืองที่มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 มีชาวประมงฝรั่งเศสเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองนี้ประมาณ 5000 คน ส่วนใหญ่ก็มาจากเมือง Paimpol Lorient และ Dunkerque ในช่วงนั้นเมืองนี้ได้เป็นจุดสำคัญในการทำการประมงของคนฝรั่งเศส ตามถนนต่างๆในเมืองก็มีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศส อีกทั้งยังมีโรงพยาบาลที่สร้างโดยคนฝรั่งเศสอีกด้วย ซึ่งโรงพยาบาลนี้ก็ได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนเยี่ยมชม โดยจะมีจดหมายที่ชาวประมงฝรั่งเศสเขียนบรรยายถึงสภาพอากาศที่เลวร้าย ความคิดถึงบ้าน และความเป็นอยู่ที่ยากลำบากในสมัยนั้น

Fáskrúðsfjörður

Fáskrúðsfjörður

Fáskrúðsfjörður

Musée à Fáskrúðsfjörður พิพิธภัณฑ์ที่ Fáskrúðsfjörður

Musée à Fáskrúðsfjörður พิพิธภัณฑ์ที่ Fáskrúðsfjörður

Musée à Fáskrúðsfjörður พิพิธภัณฑ์ที่ Fáskrúðsfjörður

Musée à Fáskrúðsfjörður พิพิธภัณฑ์ที่ Fáskrúðsfjörður

Voici le cimetière des marins Français.

และนี่ก็คือสุสานของนักเดินเรือฝรั่งเศส

Nous avons quitté Fáskrúðsfjörður pour Seyðisfjörður. Il fallait monter sur les routes vertigineuses entourées par des montagnes enneigées. À l’arrivée, nous trouvons des maisons typiquement scandinaves et donc très colorées. 

เราขับรถต่อมาเรื่อยๆจนถึงเมือง Seyðisfjörður เราต้องขับขึ้นเขากัน ถนนก็ปกคลุมได้ด้วยหิมะ ทางค่อนข้างอันตราย ต้องขับอย่างระมัดระวังมาก พอยิ่งขับขึ้นไปเรื่อยๆเราก็เห็นวิวที่สวยมาก พอไปถึงเราก็เห็นบ้านที่มีสีสันต่างๆ

 

Même cette église créée en 1998 est de couleur bleue. Elle a été créée par le musicien Muff Worden et l’ingénieur Sigurður Jónsson. Cette petite église est le symbole de ce village.

ขนาดโบสถ์ก็ยังมีสีสันเลยนะคะเนี่ย โบสถ์สีฟ้านี้สร้างในปีค.ศ. 1998 โดยนักดนตรีชื่อ Muff Worden และวิศวกรชื่อ Sigurður Jónsson โบสถ์นี้เรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านนี้เลยนะคะ

Église bleue Seyðisfjörður โบสถ์สีฟ้าที่ Seyðisfjörður

Église bleue Seyðisfjörður โบสถ์สีฟ้าที่ Seyðisfjörður

Seyðisfjörður

La principale activité est la pêche, notamment celle du Hareng. Les bateaux de pêche sont fréquents dans le fjord.

เป็นเมืองที่ติดน่านน้ำขนาดนี้ ก็แน่นอนว่าผู้คนที่นี่เลี้ยงชีพด้วยการประมง ปลาที่ตกส่วนใหญ่ก็คือปลาเฮร์ริ่งค่ะ

Et voici le bateau de la compagnie Smyril Line. C’est la seule compagnie aujourd’hui à permettre de joindre l’Islande en bateau, au départ du Danemark.

นี่ก็คือเรือของบริษัท Smyril Line ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่บริการเรือข้ามฝั่งจากเดนมาร์กมาไอซ์แลนด์

Ferry Smyril Line เรือเฟอร์รี่จากบริษัท Smyril Line

Au retour, nous avons pris le même chemin. À la sortie du village, j’aperçois une charmante petite cascade. Je descends de voiture et prends des photos rapidement car il n’y a pas de parking.

ในตอนกลับออกจากหมู่บ้านนี้ เราใช้ทางเดิม ซึ่งก็ต้องขับลงเขามานั่นเอง แล้วเราก็ไปสังเกตเห็นน้ำตกอันนึงซึ่งอยู่ตรงทางออกหมู่บ้านเลย  ขอแชะรูปน้ำตกที่ดูท่าทางจะเย็นยะเยือกนี้ซักหน่อยนะ

Seyðisfjörður

Ce soir, nous dormons à Egilsstadir.

คืนนี้เราไปพักกันที่เมือง Egilsstadir ค่ะ

23 Février 2017  Encore cascade et bains chauds !!

23 กุมภาพันธ์ 2560 มาแช่น้ำพุร้อนกัน !!

Avant de quitter Eglisstadir, nous faisons le plein d’essence et de provisions avant d’arriver au bord du lac Myvatn car sur place le choix est très limité et les prix sont assez élevés.

En direction de Myvatn, il y a du brouillard et de la neige. La visibilité n’est pas terrible.


ก่อนออกจากเมือง Egilsstadir เราแวะเติมน้ำมันให้เต็มถังกันก่อนค่ะ เพราะว่าจากนี้ต่อไปเราจะไม่พบปั๊มน้ำมันแล้ว วันนี้เราขับรถมุ่งหน้าไปทางตะวันตกสู่ Myvatn ค่ะ อากาศค่อนข้างแย่ มีหมอกลงและหิมะตกตลอดทาง

 

Le premier arrêt est la cascade Dettifoss. C’est la plus puissante cascade d’Europe ! Nous garons la voiture à l’entrée et marchons encore 10 minutes sur la neige. La cascade fait un énorme bruit avec un fort débit d’eau ! Nous ne restons pas longtemps car il fait un froid de canard !! Bon, ce petit selfie n’est déjà pas si mal.

ที่แรกของวันนี้เราแวะที่น้ำตก Dettifoss เป็นน้ำตกที่ไหลเร็วและทรงพลังมากที่สุดในยุโรป เราจอดรถไว้ที่ลานจอดรถ และเดินลุยหิมะเข้ามาอีกประมาณ 10 นาที และเราก็ได้มาเห็นความทรงพลังของน้ำตกนี้ มันยิ่งใหญ่และไหลแรงมากจริงๆ แต่เราอยู่นานมากไม่ได้เพราะมันหนาวและลมแรงมากๆ จึงได้ภาพเซลฟี่มาได้แค่นี้

Cascade Dettifoss น้ำตก Dettifoss

Cascade Dettifoss น้ำตก Dettifoss

 

Nous continuons la route jusqu’à Myvatn. Juste avant d’arriver, nous visitons la grotte Grjótagjá, dans laquelle se trouve une source d’eau chaude (43 – 46 degrés).

ขับไปจนใกล้ถึงเมือง Myvatn เราก็แวะชมถ้ำ Grjótagjá กันก่อนค่ะ เป็นถ้ำที่มีน้ำพุร้อนอยู่ข้างใน (ประมาณ 43-46 องศา) ทางเข้าถ้ำค่อนข้างเข้าลำบาก ต้องปีนป่ายข้างในเพราะถ้ำค่อนข้างเล็ก และที่นี่ยังเป็นสถานที่ถ่ายทำซีรียส์ Game of Thrones ด้วยนะคะ

 

Ensuite, c’est le check-in à notre hébergement. Nous avons réservé à la ferme Vogafjós. À part l’activité d’élevage de moutons et de vaches, ils font des chambres d’hôtes pour les touristes. Vous pouvez même les voir traire des vaches le matin et le soir. Nous restons ici deux nuits.

Au moment du check-in, une dame nous déconseille de sortir ou de prendre la route demain car une grosse tempête va arriver en début après midi. Comme nous restons ici 2 nuits, il n’y a pas de souci mais nous avions prévu d’aller aux bains chauds demain soir. Le plan est changé. Après avoir acheté les tickets pour les bains à la ferme (avec 10% de réduction), nous prenons la route pour Jarðböðin.

หลังจากนั้นเราก็เข้าที่พักค่ะ เราจองกันไว้ที่ฟาร์ม Vogafjós เป็นฟาร์มเลี้ยงแกะเลี้ยงวัว แล้วเค้าก็ยังทำที่พักให้นักท่องเที่ยวอีกด้วยค่ะ หากใครต้องการดูรีดนมวัว ก็สามารถไปดูได้ในตอนเช้าและตอนเย็น เราจะพักที่นี่กัน 2 คืน ในตอนที่เช็คอินนั้น พนักงานต้อนรับได้แจ้งให้เราว่าอากาศจะแย่มากในวันพรุ่งนี้ จะมีพายุเข้า แล้วเค้าก็ยังเตือนแขกคนอื่นๆว่าให้หลีกเลี่ยงการเดินทางในวันพรุ่งนี้ตอนบ่าย สำหรับเราไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะว่ายังไงก็อยู่ที่นี่สองคืน แต่เราแพลนที่จะไปแช่น้ำพุร้อนพรุ่งนี้เย็นด้วยนี่สิ เพราะฉะนั้นแพลนก็เลยเปลี่ยนค่ะ เราก็เลยไปกันคืนนี้แทน เราสามารถซื้อตั๋วได้ที่ฟาร์มนี้เลยนะคะ มีส่วนลด 10% อีกด้วยค่ะ

Il y a plus de 100 sources chaudes en Islande grâce à la chaleur du sous-sol islandais. Jarðböðin (Myvatn Nature Baths) sont les bains naturels à Myvatn. On peut dire que c’est les jumeaux du fameux bain Blue Lagoon. Mais ces bains sont un peu moins chers et moins fréquentés. Normalement, la température dans l’eau est à peu près 38-40 degrés. Malheureusement, le temps est mauvais quand nous arrivons et la température est descendu à 30. Pas le choix, on y va quand même car c’est aujourd’hui ou jamais ! L’eau est bien bleue et tiède. J’essaye de trouver un point où il y a plus de chaleur. Il y a du vent de temps en temps. Je dois tremper ma tête dans l’eau pour ne pas avoir froid au crâne. Si vous venez prendre des bains naturels ici, je vous conseille quand même de prendre un bonnet de bain qui vous couvre jusqu’aux oreilles.

น้ำพุร้อนสีฟ้าสดใสที่เราจะไปนี้ชื่อว่า Jarðböðin (Myvatn Nature Baths) เป็นแฝดผู้น้องของ Blue Lagoon ที่ที่นักท่องเที่ยวไปกันเยอะมากๆๆๆ แต่ที่ Myvatn ราคาจะถูกกว่า ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีทั้งภูเขา ภูเขาไฟ ไอซ์แลนด์จึงเป็นประเทศที่มีน้ำพุร้อนมากมาย โดยเป็นความร้อนธรรมชาติจากใต้พื้นพิภพ ปกติแล้วอุณหภูมิในน้ำพุร้อนแห่งนี้จะประมาณ 38-40 องศา แต่วันที่เราไปอากาศเริ่มย่ำแย่ อุณหภูมิในน้ำเหลือแค่ 30 องศา แต่เราก็ไฟท์ไปค่ะ มาไอซ์แลนด์ทั้งทีเราต้องแช่น้ำร้อนกันซักหน่อย มันจะมีมุมที่น้ำไม่ค่อยร้อนมาก เราก็ต้องเดินหามุมที่มีความร้อนเยอะๆค่ะ ด้วยความที่ลมเย็นยะเยือกพัดผ่านมาเป็นระลอกๆ เราก็ต้องแก้หนาวด้วยการเอาหัวจุ่มลงน้ำบ่อยๆ เพราะฉะนั้นอยากจะแนะนำว่าใครที่แช่น้ำร้อนที่ไอซ์แลนด์ควรเตรียมหมวกว่ายน้ำมาด้วยค่ะ ปิดให้ถึงหูเลยยิ่งดีค่ะ

Pour plus d’infos sur Jarðböðin, vous pouvez visiter leur site Myvatn Nature Baths

สำหรับใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ Myvatn Nature Baths ได้เลยค่ะ

 

24 Février 2017  Châteaux noirs

24 กุมภาพันธ์ 2560 ปราสาทดำ

Le petit déjeuner est top ! Après avoir bien mangé, nous sortons pour visiter Myvatn avant l’arrivée de la tempête.

เช้านี้เรากินอาหารเช้าที่เค้าจัดไว้ให้อย่างดีที่ฟาร์มอย่างอิ่มแปล้เลยค่ะ ด้วยความที่ตอนบ่ายพายุจะเข้า เราก็เลยออกไปชมสิ่งที่น่าสนใจในตัวเมือง Myvatn ในตอนเช้า

Nous faison une petite randonnée sur la neige poudreuse à Dimmuborgir qui veut dire “chateaux noirs” en français. Le site a été créé à par les éruptions du volcan Hverfjall. La lave s’est écoulée sur 12 kilomètres de long au sud du cratère Hverfjall. Un lac de lave s’est alors créé puis s’est solidifié. Les échappements de vapeur d’eau du terrain ont refroidi la lave lors de leur remontée dans le lac. Cela a provoqué des formations en colonnes et créé les sculptures de lave de Dimmuborgir.

เราไปกันที่ Dimmuborgir (แปลว่า ปราสาทสีดำ) เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ Hverfjall เมื่อ 2,300 ปีก่อน แล้วลาวาก็ไหลลงในทะเลสาป น้ำที่เย็นทำให้ลาวาด้านบนแข็งตัว ต่อมาลาวาที่ไหลย้อยลงมาทีหลังจึงแข็งตัวตาม ก็ก่อให้เกิดรูปร่างดังภาพนี้แหละค่ะ

Dimmuborgir

Dimmuborgir

Dimmuborgir

Dimmuborgir

À mon avis, il vaut mieux visiter Dimmuborgir en été pour mieux voir toutes ces sculptures de lave sans la neige.

ถ้าหากจะไปที่นี่ แนะนำว่าให้ไปช่วงหน้าร้อนจะดีกว่าค่ะ เพราะจะทำให้เห็นทัศนียภาพได้ดีกว่า ไม่มีหิมะปกคลุมอย่างนี้

Et voici le cratère de Hverfjall que nous n’avons pas approché en raison de l’arrivée imminente de la tempête.

และนี่ก็คือปากปล่องภูเขาไฟ Hverfjall ที่เราไม่ได้ขึ้นไป เพราะกลัวว่าจะกลับลงมาไม่ทันหากเกิดพายุ หากใครที่ไปมาที่นี่ก็สามารถปีนขึ้นไปที่ปากปล่องได้นะคะ

Hverfjall

Hverfjall

Nous rentrons dans la chambre en début d’après midi en écoutant la tempête. C’est l’heure du long repos.

ในตอนบ่ายเราก็กลับที่พักพร้อมฟังเสียงพายุที่พัดแรงมากๆ จนหลังคาสะเทือน งั้นก็ถือว่าเป็นการพักผ่อนไปในตัวแล้วกันนะจ๊ะ

 

25 Février 2017  Embrassés par les montagnes à Siglufjörður

25 กุมภาพันธ์ 2560 จะโอบกอดเธอด้วยขุนเขา ณ เมือง Siglufjörður

Aujourd’hui, nous quittons Myvatn pour monter plus au nord de l’Islande. D’abord, nous faisons un petit arrêt à Goðafoss. Goðafoss est située sur le cours de la rivière glaciaire Skjálfandafljót. Celle rivière prend sa source au nord-ouest du glacier Vatnajökull. Goðafoss est une cascade de 12 mètres de haut et 30 mètres de largeur. Elle devient glacée en hiver. Si vous vous mettez au même endroit que sur la photo, il faut être très vigilant car il vous pouvez même être emporté par la force du vent !! Même mon bonnet rouge préféré s’est envolé avec ce vent !! Si vous le trouvez, n’oubliez pas de me le signaler 🙂

เราออกจาก Myvatn มุ่งหน้าสู่ทางเหนือ ก่อนอื่นเราแวะกันที่น้ำตก Goðafoss ซึ่งแปลว่าน้ำตกแห่งพระเจ้า เกิดจากน้ำในแม่น้ำ Skjálfandafljót ที่เกิดจากการละลายของธารน้ำแข็ง Vatnajökull น้ำตกมีความสูง 12 เมตร ความกว้าง 30 เมตร ในช่วงฤดูหนาวน้ำตกจะมีลักษณะเป็นน้ำแข็ง หากไปยืนตรงจุดที่เรายืนอยู่ในภาพ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะลมแรงจริงๆ สามารถพัดพาเราตกลงไปได้ แล้วก็ที่น้ำตกนี่แหละค่ะที่พัดพาหมวกแดงของเราหายไป ด้วยความที่ใส่ทั้งฮู้ดทั้งหมวก ไอเราก็คิดว่าหมวกตกอยู่ในฮู้ด  ความจริงแล้วไม่ใช่เลย กลับมาที่รถก็ไม่เจอหมวกที่รักสุดหัวใจแล้ว ลาก่อย

Goðafoss

 

Bon, même si on n’a pas de chance avec l’appareil photo et le bonnet, nous devons continuer notre périple vers Siglufjörður, la ville où nous allons dormir ce soir. Avant, on ne pouvait y arriver que par l’ouest mais depuis 2010, ils ont construit un tunnel qui relie Ólafsfjörður et Siglufjörður. Ca nous facilite beaucoup l’accès. Mais la voie unique reste quand même petite dans le tunnel et il faut faire attention aux véhicules en face.

หลังจากซับน้ำตาไปพักใหญ่ เราก็ต้องเดินทางต่อ ชีวิตต้องดำเนินต่อไป เรามุ่งหน้าไปที่ที่เราจะพักคืนนี้คือที่เมือง Siglufjörður ในสมัยก่อนนั้น ถ้าเราต้องการเดินทางไปเมืองนี้จากทางตะวันออก จะไม่สามารถไปได้ เพราะมีแต่ภูเขาล้อมรอบ แต่ตั้งแต่ปีค.ศ.2010 เป็นต้นมา ได้มีการขุดเจาะอุโมงค์เพื่อเชื่อมระหว่าง Ólafsfjörður  และ Siglufjörður ทำให้เราสามารถข้ามผ่านไปได้ แต่ทางในอุโมงค์ก็ไม่ค่อยกว้างเท่าไหร่นัก ต้องคอยระวังรถที่ขับสวนมาเหมือนกัน

Siglufjörður, c’est l’une de mes villes préférées en Islande. La ville est un petit port de pêche où l’on trouve la tranquillité. Elle est entourée, embrassée par des montagnes, l’océan et des maisons colorées.

สำหรับเรา ถือว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่ชอบอีกเมืองนึงของไอซ์แลนด์ เมืองแห่งการประมงนี้เป็นเมืองที่เงียบสงบ ล้อมรอบไปด้วยภูเขาปกคลุมด้วยหิมะ ติดมหาสมุทร พร้อมบ้านที่มีสีสันต่างๆ มันช่างสวยงามสบายตาสบายใจเสียจริง

Siglufjörður

Siglufjörður

Siglufjörður

Siglufjörður

L’activité principale est la pêche de harengs. Je pense que le hareng est le menu principal ici car je le trouve au petit déjeuner tous les matins. Mais personnellement, je n’aime pas du tout. Si ça vous intéresse, vous pouvez visiter le musée du harengs ici The Herring Era Museum  

Malheureusement, il n’est pas ouvert en hiver.

En faisant une balade dans le village, nous ne croisons quasiment personne. En fait, la population islandaise n’est que 300.000. Et la majorité de la population habite dans la capitale, Reykjavik. Donc je ne suis pas étonnée qu’il n’y ait pas grand monde ici ou même sur la route (où l’on ne trouve que les touristes).

Ce soir, on fait un petit dodo à l’hôtel Siglo.

การประมงของที่นี่เป็นการประมงปลาเฮร์ริ่ง(เรียกได้ว่าเป็นเมนูหลักของชาวไอซ์แลนด์เลยก็ว่าได้ อาหารเช้าทุกที่จะมีปลาเฮร์ริ่งเสริ์ฟอยู่  ไม่ว่าจะเป็นแบบธรรมดาหรือดอง) ซึ่งหากผู้ใดสนใจ ก็สามารถไปเยี่ยมชมพิพิธภันฑ์ปลาเฮร์ริ่งได้ที่ The Herring Era Museum ซึ่งพิพิธภัณฑ์ปิดในช่วงหน้าหนาว เราจึงไม่สามารถเข้าชมได้

วันนี้เป็นที่เราเดินเล่นชมเมืองกันชิวๆ ไม่ค่อยหรือแทบจะไม่เจอผู้คนเลย จะว่าไปประชากรที่ไอซ์แลนด์ก็มีแค่ 3 แสนกว่าคน แล้วประชากรส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่เรคยะวิค เมืองหลวงของประเทศ จึงไม่แปลกใจเลยที่ยิ่งขับขึ้นมาทางเหนือมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเจอผู้คนน้อยลง

สำหรับคืนนี้เราพักกันที่โรงแรม Siglo Hotel ค่ะ

Cliquez ici pour l’Islande Partie III  Descente à la péninsule de Snæfellsnes

ไปต่อกันที่ไอซ์แลนด์ ภาค 3 เลยค่ะ ลงสู่คาบสมุทร Snæfellsnes

Author

Laisser un commentaire

Votre adresse de messagerie ne sera pas publiée. Les champs obligatoires sont indiqués avec *

CommentLuv badge