30/04/2016 Syangmoche – Ghilling – Ghemi
30/04/2559 Syangmoche – Ghilling – Ghemi
C’est l’heure de quitter Syangmoche. Nous commençons à grimper. De là haut, nous pouvons prendre la photo de notre lodge (photo ci-dessous)
เช้านี้ก็ได้เวลาบอกลาเมือง Syangmoche ภาพข้างล่างนี้คือที่พักของเราที่ Syangmoche และวิวจากข้างบน
Aujourd’hui, je ne prends pas le sac à dos pour pouvoir marcher plus rapidement. Le chemin est très facile au départ car il y a beaucoup de descente. À l’arrivée d’un village, nous visitons un temple. L’entrée est payante, 200 roupies (environ 1,6€). En montant tout en haut, il y a un autre petit temple qui n’autorise pas l’entrée aux femmes.
วันนี้เราตัดสินใจไม่แบกเป้ไป เพราะเรารู้สึกว่ามันทำให้เราเหนื่อยแล้วก็เดินช้าลง ในช่วงแรกๆ เราเดินสบายอย่างมากเพราะเป็นทางลง เราได้แวะที่หมู่บ้านหนึ่งพร้อมกับเดินขึ้นไปชมวัด ก่อนเข้าก็ต้องจ่ายคนละ 200 รูปีก่อน (ประมาณ 66 บาท) แต่จะมีจุดนึงที่ผู้หญิงเข้าไปไม่ได้ เราก็เลยได้แต่ถ่ายรูปอยู่ข้างนอก
Après la visite de ce village, le chemin commence à être plus difficile. Trois ânes transportant des gros sacs me suivent de loin. Ensuite, ils me dépassent !! Les gens d’ici se servent des ânes pour transporter des affaires. J’ai l’impression que je me perds dans le Moyen-âge. Peut être, je vais voir les chevaliers au Mustang aussi ? lol
หลังจากที่เยี่ยมชมหมู่บ้านเสร็จ เราจะต้องเดินข้ามเขาลูกหนึ่ง เราก็ค่อยๆเดิน เห็นลา 3 ตัวที่กำลังเดินตามข้างหลังเรามาลิบๆพร้อมกับแบกของบนหลังที่ดูท่าทางจะหนักมาก คนที่นี่จะใช้ลาในการขนส่งสิ่งของเป็นส่วนใหญ่ จะว่าไปเราก็รู้สึกเหมือนว่าตัวเองหลงมาอยู่ในยุคกลางของยุโรปยังไงยังงั้นเลย สักพักลาก็เดินนำหน้าเราไปไกลแสนไกลเหลือเกิน
Nous arrivons à Ghemi vers 15h. Ça nous laisse du temps pour se reposer, prendre la douche payante (200 roupies nèpalaise) et faire une promenade dans le village.
เราไปถึงที่พักกันในตอนประมาณบ่ายสามโมง สำหรับที่พักที่นี่เราต้องจ่ายค่าอาบน้ำร้อนด้วยคนละ 200 รูปี ด้วยความที่เราไปถึงตอนบ่าย เราก็เลยมีเวลาพักผ่อนและได้มาเดินชมเมืองในหมู่บ้าน
01/05/2016 Tsarang et le thé tibétain
01/05/2559 เดินชมเมือง Tsarang (ซารัง) พร้อมชิมชาทิเบต
Nous partons à 7h30. C’est la journée tranquille avec une ascension de 583m et une descente de 523m. En traversant plusieurs montagnes pour Tsarang, j’ai aussi l’occasion de voir 3 chèvres des montagnes.
เราออกเดินทางกันตอน 7.30น วันนี้ถือว่าเป็นวันที่เดินสบายๆชิวๆ โดยต้องเดินขึ้น 583 เมตร และเดินลง 523 เมตร เราต้องข้ามเขาหลายลูกเพื่อไปที่เมือง Tsarang ซารัง (แฮโยววว อันนี้เราเติมเองนะ 555) มีภูเขาลูกหนึ่งที่สูงชันและต้องผ่านช่องแคบโขดหินมากมาย พอเดินขึ้นไปถึงข้างบน เราสังเกตเห็นกวางผา 3 ตัวบนโขดหินอีกฟากหนึ่งของภูเขา (ตามภาพข้างล่าง)
Nous atteignons le sommet à 4.188m d’altitude. La vue à 360° autour de nous est juste magnifique !!
เราเดินต่อไปจนถึงจุดสูงสุดของวันนี้ที่ระดับ 4,188 เมตร วิวรอบตัวเรา 360 องศาสวยงามมาก
Bientôt nous pouvons apercevoir Tsarang un peu plus bas.
เราเริ่มมองเห็นเมือง Tsarang ที่อยู่ข้างล่าง
Très vite, nous arrivons à Tsarang à 12h07. Le temps de marche n’est que de 4 heures 40 minutes pour 11,10km. Après le bon repas, c’est l’heure de découvrir Tsarang.
เรามาถึงที่พักที่เมืองซารังตอน 12.07น ถือว่ามาถึงเร็วมาก สรุปแล้ววันนี้เราเดินแค่ 4 ชั่วโมง 40 นาทีเอง (11.10 กิโลเมตร) หลังจากที่กินข้าวกลางวันเสร็จ เราก็ออกไปเดินเล่นในตัวหมู่บ้าน
Nous assistons à une cérémonie dans un temple vieux de 700 ans. Les petits moines sont en train de faire la prière. Ils sont tous d’origine tibétaine. Je me pose des questions : pourquoi les moines peuvent avoir un peu de cheveux ? Les moines dans mon pays doivent se raser les cheveux. Un moine me dit qu’ils laissent pousser un peu les cheveux car il fait froid. Oh la, il doit blaguer ! J’en suis certaine loll
เราไปเยี่ยมชมวัดในหมู่บ้าน ซึ่งขณะนั้นเณรกำลังทำพิธีสวดมนต์อยู่ เณรส่วนใหญ่มาจากทิเบต หลวงพี่ท่านหนึ่งบอกว่าเราวัดนี้มีอายุ 700 ปีแล้ว เราสังเกตเห็นพระที่นี่ไว้ผมได้ เราก็เลยถามหลวงพี่คนหนึ่งว่าทำไม ท่านก็บอกว่าเพราะอากาศมันหนาว ไม่รู้ว่าหลวงพี่ท่านพูดจริงหรือพูดเล่นนะเนี่ย พอออกมาจากวัด เราก็ต้องจ่ายค่าเยี่ยมชมวัด 200 รูปีด้วย
Ensuite, nous passons par une maison où un groupe de femmes sont en train de faire du thé tibétain. Elles nous proposent d’entrer et nous font goûter ce thé. Après la première gorgée, je suis certaine qu’il n’y aura pas de deuxième !! C’est écoeurant.. ça me donne envie de vomir. Au contraire, Franck l’apprécie beaucoup. Il me dit que c’est comme la soupe d’oignon sans oignon.. Mouais..
หลังจากนั้น เราก็เดินออกมาจากวัด ผ่านบ้านหลังหนึ่งซึ่งเจ้าของบ้านกำลังทำชาทิเบตอยู่ ผู้หญิงคนหนึ่งชวนให้เราชิมชาพร้อมกับดูวิธีการทำ เราลองชิมไปอึกนึง ไม่อยากจะบอกเลยว่าไม่ชอบอย่างแรง คงจะไม่มีอึกที่สองอย่างแน่นอน รสชาติมันจะออกเค็มๆ เลี่ยนๆ ไม่ถูกปากอย่างแรง แต่กลับกัน ฟร้องค์กลับบอกว่าอร่อย บอกว่ารสชาติเหมือนซุปหัวหอมที่ไม่มีหัวหอม เราก็คิดในใจว่า มันเหมือนตรงไหนแว้
Après la pause du thé tibétain, nous visitons un petit palais (qui ne ressemble plus au palais) où le roi du Mustang résidait. À l’intérieur, je vois un squelette de mains. En fait, c’est la main de l’architecte qui a construit ce petit palais. Pour l’empêcher de construire le même type d’architecture ailleurs, le roi lui a fait couper les mains. Cela me fait penser à l’histoire du roi de Bagan (en Birmanie) qui ne voulait aucune espace entre les briques de son temple. Il a fait coupé les mains des ouvriers s’il réussissait à passer une aiguille entre les briques. Que c’est cruel !
เอาล่ะ ชิมชาเสร็จ เราก็เดินเล่นต่อ คราวนี้เราไปชมสถานที่ที่กษัตริย์ของอาณาจักรมุสตางเคยประทับอยู่ ซึ่งที่แห่งนี้ก็ได้กลายเป็นซากปรักหักพังไปแล้วในปัจจุบัน เราได้ไปเห็นโครงกระดูกมือ ไกด์บอกว่าเป็นมือของช่างที่สร้างที่แห่งนี้ กษัตริย์ไม่ต้องการให้เค้าไปสร้างที่แบบนี้ในที่อื่นอีก จึงต้องตัดมือของช่างคนนี้ซะ มันทำให้เรานึกถึงตอนที่ไปเมืองพุกามที่พม่า ที่นั่นก็มีเรื่องราวกษัตริย์ที่ตัดมือช่างที่ต่ออิฐไม่สนิท เฮ้อ เราฟังๆดูรู้สึกว่ามันช่างโหดร้ายจัง
Nous rentrons au lodge pour commander le dîner comme ils mettent quinze plombs à préparer. Ensuite, nous ressortons. Je remarque les alignement de blocs d’argile. En fait, les villageois s’en servent pour construire les bâtiments. Un népalais vient me parler parce qu’il pense que je suis népalaise. En fait, je n’ai pas du tout la tête d’une népalaise ou tibétaine. Mais comme il n’a jamais vu d’autres asiatiques dans le coin, il doit penser que je suis népalaise !! Eh non, je ne sais que communiquer en anglais avec lui. Nous avons du mal tous les deux à se comprendre. Tous ses amis parlent et rigolent. Je ne comprends pas trop.
เราเดินกลับมาที่ที่พักเพื่อสั่งอาหารเย็น (ต้องสั่งไว้ก่อน เพราะว่าเค้าใช้เวลาทำนานมาก) แล้วเราก็เดินออกมาอีกรอบ เราเห็นชาวบ้านกำลังก่อสร้างตึก โดยพวกเค้าได้เตรียมดินเป็นบล็อกๆ มีชายเนปาลคนหนึ่งเข้ามาคุยกับเรา เขาคิดว่าเราเป็นคนเนปาล อันที่จริงหน้าตาเราก็ไม่ได้เหมือนคนเนปาลหรือออกแนวทิเบตซักเท่าไหร่นะ อาจจะเป็นเพราะเค้าคงไม่เคยเห็นคนเอเชียแถวนี้ล่ะมั้ง เลยเดาว่าเป็นคนเนปาล เราก็สนทนาภาษาอังกฤษกับเค้า หนุ่มเนปาลคนนี้ก็พยายามสื่อสารกับเราได้บ้างไม่ได้บ้าง เค้าถามว่าเรามาจากไหน พอเราตอบเสร็จ เพื่อนเค้าก็ตะโกนมาจากข้างหลังพร้อมหัวเราะคิกคักกันใหญ่ ไอเราก็ฟังไม่รู้เรื่อง เรามีความรู้สึกว่าผู้ชายคนนี้อยากคุยกับเรามาก แต่ติดตรงปัญหาเรื่องภาษานี่สิ
Nous continuons notre promenade jusqu’à la sortie de Tsarang. Il y a un berger qui guide son troupeau de chèvres. C’est pareil dans les autres villages où nous passons. Les animaux rentrent à la maison le soir comme s’ils savaient qu’ils doivent rentrer.
เราเดินไปจนถึงหน้าทางเข้าเมือง Tsarang มีชายคนหนึ่งกำลังต้อนฝูงแพะกลับบ้าน ในหมู่บ้านอื่นๆก็เป็นอย่างนี้เช่นกัน แพะ แกะ ม้า วัวทั้งหลายจะกลับบ้านในตอนเย็นๆ เหมือนว่าพวกมันจะรู้หน้าที่
Au dîner, je commande les nouilles sautées (après plusieurs repas de Dal Bhat). Ce qui me questionne beaucoup est le menu. Dans tous les lodges au Mustang, vous verrez le même menu. Je ne sais pas si c’est la règle. Et vous ne trouverez pas du tout de viande (si vous en trouvez, vous avez de la chance mais c’est très rare). Donc si vous êtes quelqu’un qui ne pouvez pas vous en passer, je vous déconseille de faire le trek au Mustang.
C’est l’heure de faire dodo. Demain nous partons pour Lo Manthang qui est la capitale du Mustang. Il y a aussi 3 jours de festival de Tiji qui nous attend là bas. À suivre !!
ในตอนเย็น เรากลับมากินข้าวเย็นที่ที่พัก สำหรับวันนี้เราได้สั่งผัดก๋วยเตี๋ยวแทน
(ปกติแล้วจะกินแต่ดาลบัท อาหารประจำชาติเนปาล) สิ่งที่เราสังเกตได้อย่างหนึ่งก็คือทุกเกสต์เฮ้าส์ที่มุสตางจะมีเมนูอาหารเหมือนกันหมด ไม่รู้ว่ามันเป็นกฎหรืออะไร และทุกเมนูก็จะมีแต่ผัก ไม่มีเนื้อเลย เพราะฉะนั้น เทรคที่มุสตางจะไม่เหมาะกับคุณเลยถ้าคุณเป็นคนชอบกินเนื้อสัตว์ และขาดกินของเหล่านี้ไม่ได้
เราเข้านอนเพื่อเตรียมตัวไป Lo Manthang (โล มานตาง) ในวันรุ่งขึ้น ที่โลมานตางนี้เองที่จะมีงานเทศกาล Tiji หรือ Tenchi เราเริ่มจะตื่นเต้นแล้วสิ