Avant de partir ก่อนออกเดินทาง

Avant de partir ก่อนออกเดินทาง

Pourquoi ce trek au Mustang ?

ทำไมต้องไปเทรคที่มุสตาง  

Un trek au Népal est le rêve de tous les trekkeurs dans le monde. C’est aussi le mien. Nous avons planifié ce trek en décembre 2015. D’abord, il faut choisir le trek. Le camp de base de l’Annapurna est la destination phare mais nous voulions voir quelque chose de nouveau et hors des sentiers battus. Nous avons eu un coup de coeur pour la région du Mustang et du Dolpo. Nous n’avions pas assez de temps pour faire les deux régions. Le Dolpo est donc le premier choix mais … vu qu’il y a la fête de Tiji qui a lieu en mai 2016 à Lo Manthang (la capitale de Mustang), nous avons donc changé d’avis. C’est parti pour le trek au Mustang !

การไปเทรคกิ้งที่เนปาลคือความใฝ่ฝันของนักเดินทาง และมันก็คือความใฝ่ฝันของเราด้วย เราเริ่มต้นวางแผนกันตอนเดือนธันวาคม 2558 ในตอนแรกก็ต้องคิดกันว่าเราจะไปเทรคที่ไหน แน่นอนว่านักเดินเขาทุกคนต้องไปที่ Annapurna Base Camp แต่เราอยากไปเจออะไรใหม่ๆ แล้วก็ได้ไปพบกับอาณาจักรมุสตาง (Mustang) กับ ดอลโป (Dolpo) ใจจริงเราอยากจะไปเทรคทั้งสองที่เลยแต่มันเป็นไปไม่ได้ แบบว่ารักพี่เสียดายน้อง ก็จำใจต้องเลือก ซึ่งเราเลือกที่จะไปดอลโป แต่บังเอิ๊ญญ คุณสามีเห็นว่ามีเทศกาล Tiji หรือ Tenchi ที่มุสตางในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 เราก็เลยเปลี่ยนใจไปเทรคที่มุสตางพร้อมกับแวะชมเทศกาลนี้ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วันที่เมือง Lo Manthang (โล มานตาง) เมืองหลวงของมุสตาง

Voici la carte pour vous donner une idée où se situe cette région (crédit photo : Shizen Treks et Google Maps). Sur Google Maps, vous allez voir le Mustang en point rouge avec Chhusang et Jomoson qui sont les villes principales.

บางคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่ามุสตางอยู่แถบไหนของเนปาล เรามีแผนที่คร่าวๆมาให้ชม  (ขอบคุณภาพจาก Shizen Treks และ Google maps) จากภาพของ Google Maps อาณาจักรมุสตางจะอยู่ในส่วนของจุดสีแดง ซึ่งมีเมืองหลักๆคือ Chhusang และ Jomosom

nepal-trekking-map

 

Capture d’écran 2016-06-04 à 14.02.32

 

Le Mustang a été fermé pendant des siècles aux étrangers. L’accès a été officiellement autorisé aux étrangers en 1992. Néanmoins, il faut payer pour le permis de trek dans la région 50$ par jour et par personne. De plus, un guide est obligatoire. Il est interdit de trekker au Mustang sans guide. La principale raison de toutes ces règles est de préserver du tourisme de masse la culture du Mustang.

แต่ก่อนนั้นมุสตางถือเป็นอาณาจักรปิดจากโลกภายนอก และได้เปิดให้ชาวต่างชาติเข้าไปอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2535 นี้เอง โดยการที่จะเข้าไปในเขตมุสตางนั้น นักท่องเที่ยวต้องจ่ายค่าใบอนุญาตเทรคกิ้งวันละ 50$ ต่อวันและต่อคน และจำเป็นต้องมีไกด์ที่มีใบอนุญาตด้วย ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่

 

Check list avant de partir

มีอะไรบ้างในกระเป๋าเดินทางของพวกเรา

นี่ถือได้ว่าเป็นเทรคอันยิ่งใหญ่ครั้งแรกของเราสองคน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องจัดเตรียมสัมภาระอย่างดี และเช็คลิสต์ของเราอาจจะมีเยอะหน่อย จะมีอะไรบ้างมาดูกันเล้ยยย

Comme c’est notre premier grand trek, il faut prévoir beaucoup d’affaires. Et voici notre liste (un peu plus bas) :

  1. กระเป๋าแบ็คแพ็คสำหรับเดินในแต่ละวัน เราใช้ของ Deuter ค่ะ
  2. รองเท้าสำหรับเทรคกิ้ง  รองเท้านี่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราต้องใช้เดินในแต่ละวัน ถ้าเกิดมีปัญหากับรองเท้าขึ้นมา ถือว่าทริปนั้นจบทันทีค่ะ เพราะฉะนั้นต้องเลือกให้ดี สำหรับเรา เราใช้ของ Millet ส่วนสามีใช้ของ Salamon ค่ะ
  3. ไม้เท้าสำหรับเดินเทรคกิ้ง  อย่าคิดว่าตัวเองเป็นคนแก่เลยค่ะ ไม้เท้านี้ช่วยในการเทรคอย่างมาก โดยเฉพาะเวลาเดินขึ้นค่ะ
  4. ถุงเท้า  
  5. ถุงมือ
  6. ถุงนอน  เนื่องด้วยที่พักหลายๆที่ที่มุสตางจะไม่มีบริการผ้าห่ม หรืออาจจะมีแต่ไม่อุ่นมาก และสองวันสุดท้ายเราต้องตั้งแคมป์นอนในเต๊นท์กัน เราก็จำเป็นต้องนอนในถุงนอนค่ะ ซึ่งถุงนอนนี้เราเลือกแบบสำหรับอากาศ – 10 องศาค่ะ
  7. เสื้อกันหนาว  
  8. เสื้อกันลม  ที่มุสตางลมจะแรงมาก โดยเฉพาะเวลาขึ้นไปที่สูงๆ เพราะฉะนั้นเราต้องใส่เสื้อกันลมไว้คะ
  9. กางเกงเลกกิ้ง  เหมาะสำหรับเวลานอนค่ะ
  10. กางเกงขายาว  สำหรับเวลาเดินเทรคกิ้งค่ะ เราเลือกกางเกงแบบที่ไม่หนักแล้วก็แห้งง่าย
  11. เสื้อเชิ้ตสำหรับเทรคกิ้ง  ด้วยความที่เรามีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนัก พวกเสื้อผ้านี่ต้องเอาไปเท่าที่จำเป็น เราเอาไปแค่ 4 ตัวค่ะ เป็นเสื้อของ Icebreaker ซึ่งเสื้อทุกตัวทำมาจากขนของ Merino แบบที่ว่าตัวนึงสามารถใส่ได้ประมาณ 3-4 วัน และไม่เหม็นอีกด้วยค่ะ
  12. หมวก  ถึงแม้ว่าอากาศที่มุสตางจะหนาว แต่ช่วงที่เราเดินเทรคกันตอนกลางวันแดดก็แรงนะคะ เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องใส่หมวกค่ะ
  13. ผ้าบัฟ  ที่มุสตางฝุ่นเยอะมากค่ะ แล้วเวลาลมมาก็จะพัดพาฝุ่นมาด้วย เพราะฉะนั้นผ้าบัฟมีประโยชน์มากค่ะ
  14. แว่นกันแดด  อย่างที่บอกไปว่าแดดแรงช่วงกลางวัน เราจึงต้องพกแว่นกันแดดไปด้วย
  15. กระบอกน้ำ   อันนี้สำคัญอย่างยิ่ง เพราะคุณไม่สามารถเจอร้านค้าโชห่วยตามทางที่จะไปซื้อน้ำขวดได้ เพราะฉะนั้นแต่ละวันเราจึงต้องกรอกน้ำให้เต็มกระบอกจากที่พักก่อนออกเดินทางค่ะ
  16. ไฟฉายแบบคาดหัวและไฟฉายธรรมดา  ที่เนปาลจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้า จะมีการตัดไฟอยู่บ่อยๆ ที่มุสตางก็เช่นกัน บางที่นี่ไม่มีไฟกันเลย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีไฟฉายติดตัวไว้ตลอด ถ้าเป็นไฟฉายแบบคาดหัวก็จะดีตรงที่เราไม่ต้องถือ
  17. ยาสระผม Sea to summit  เราเลือกยาสระผมชนิดนี้เพราะว่าเป็นยาสระผมสำหรับเทรคกิ้ง ขวดเล็กๆพกพาง่าย แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ใช้มากเท่าไหร่ เพราะอากาศเย็น น้ำก็เย็น บางที่นี่ไม่มีห้องอาบน้ำเลยด้วยซ้ำ จากที่คิดว่าขวดเล็กอย่างนี้ไม่น่าจะพอ แต่หลังจากเทรคเสร็จเรียบร้อยยังเหลืออีกเกือบค่อนขวด 5555
  18. สบู่ Dr.Bronner  เป็นสบู่ที่ทำความสะอาดได้ดีมาก (ไม่ได้ขายของให้เค้าน้าา แต่มันใช้ดีจริงๆ แถมพกพาสะดวก)
  19. ผ้าเปียกทำความสะอาด  ความจริงแล้วมันคือผ้าสำหรับทำความสะอาดก้นเด็กทารก แต่มันกลับมาเป็นสิ่งของสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเทรคของเราเลย โดยเฉพาะตอนเข้าห้องน้ำหรือตอนที่ไม่ได้อาบน้ำมาหลายวัน
  20. ครีมทาผิว ทาหน้า ลิปมัน  ด้วยความที่เราอยู่ที่สูง หน้า ผิว และปากของเราจะแห้งมาก เพราะฉะนั้นของพวกนี้จึงสำคัญเช่นกันค่ะ
  21. ซีเรียลแท่ง (Cereal bar)   เราพกใส่กระเป๋าไปด้วยเวลาเดินเทรคกิ้ง เพราะเราต้องใช้พลังในการเดินอย่างมาก แล้วส่วนใหญ่เราต้องรอให้ถึงจุดหมายปลายทางถึงจะได้ทานอาหาร
  22. ยาเม็ดสำหรับกรองน้ำ  อย่างที่เราบอกไปในข้อ 15. เราต้องเตรียมน้ำใส่กระบอกไว้ก่อนเดินทาง ซึ่งน้ำนั้นก็ได้มาจากน้ำก๊อก แต่น้ำก๊อกที่นี่ดื่มไม่ได้ทันทีนะ ถึงแม้ว่าจะดื่มได้เราก็ไม่รู้ว่าจะสะอาดรึเปล่า เราจึงต้องใส่ยาเม็ดนี้เข้าไปในกระบอกน้ำ และทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงถึงจะนำน้ำมาดื่มได้
  23. ยาต่างๆ อาทิเช่น พารา เบตาดีน ยาแก้ไอ ฯลฯ

 

  1. Un sac à dos à la journée de 35L à 45L
  2. Une bonne paire de chaussures pour la marche  Les chaussures sont très importantes pour le trek. Si vous n’êtes pas à l’aise avec les chaussures, cela peut ruiner votre voyage. Donc, il faut choisir une bonne paire et essayer de marcher avec au moins 2 semaines avant le trek. Nous avons choisi les marques Millet et Salamon.
  3. Une paire de bâton de marche  Après le trek, je me suis rendue compte que les bâtons de marche sont importants. Ça facilite surtout l’ascension.
  4. Chaussettes
  5. Une paire de gants
  6. Un sac de couchage minimum -10  Dans plusieurs lodges au Mustang, il n’y a pas toujours de couverture à disposition et nous devons dormir sous tente pour les deux dernière nuits.
  7. Une doudoune
  8. Une veste contre le vent
  9. Des leggings pour le soir
  10. Un pantalon de marche
  11. 4 Tee-shirt en laine de mérinos  Je comptais mettre un t-shirt tous les 3-4 jours. Comme c’est fabriqué avec de la laine de mérinos, nous ne sentons pas la transpiration.
  12. Un chapeau   Même s’il fait froid au Mustang, il y a quand même beaucoup de soleil dans la journée.
  13. Un buff   C’est très utile au Mustang où il y a beaucoup de poussières.
  14. Une paire de lunettes de soleil indice 4
  15. Une gourde
  16. Une lampe frontale et une lampe de poche  La coupure d’électricité arrive souvent au Népal et c’est encore pire au Mustang. Dans plusieurs endroits, c’est impossible d’avoir la lumière dans la nuit.
  17. Un shampoing trek Sea to summit  C’est très pratique. Au début, je pensais que ce n’était peut être pas suffisant mais il m’en restait encore un peu après le trek. En fait, je ne m’en suis pas servie souvent comme l’eau chaude était rare et parfois il n’y avait pas de douche loll
  18. Un savon Dr.Bronner
  19. Des lingettes  C’est notre trésor pendant le trek (pour nettoyer le corps et aller aux toilettes)
  20. Crème hydratante pour le visage, corps et les lèvres
  21. Des barres énergétiques   Pour la marche dans la journée
  22. Des pastilles de purifications hydroclonazone  Impossible de trouver de l’eau partout, nous avons donc pris de l’eau de robinet, mis des pastilles. Il faut attendre 2 heures avant de boire.
  23. Des médicaments, antiseptiques (bétadine gel), paracetamol, pastilles (maux de gorge) etc.

Itinéraires

เส้นทางเทรค ณ อาณาจักรมุสตาง

Nous sommes partis le 23 avril 2016 en soirée et nous sommes arrivés à Katmandou le soir du 24 avril. Comme notre agence devait s’occupait des démarches administratives pour le permis de trek le lendemain, il fallait rester à Katmandou encore une nuit. Le 26 avril, nous avons pris le bus pour Pokhara (6 heures de bus). Après une nuit à Pokhara, nous devions prendre un petit avion pour Jomosom qui est la ville de départ d’un trek au Mustang. Et voici la carte et nos itinéraires :

เราเดินทางกันออกจากปารีสวันที่ 23 เมษายน 2559 ไปถึงกาฐมาณฑุในวันที่ 24 เมษายนตอนกลางคืน เราต้องรอทางเอเจนซี่จัดการเรื่องเอกสารและใบอนุญาตเข้าไปที่มุสตาง จึงทำให้เราต้องอยู่กาฐมาณฑุ 1  วัน วันที่ 26 เมษายนเราถึงจะได้นั่งรถบัสไปโพคารา เป็นเมืองที่เราจะไปขึ้นเครื่องบินเล็กไป Jomosom เมืองนี้เองที่จะเป็นเมืองเริ่มต้นเทรคของเรา คราวนี้เราก็มาดูเส้นทางเทรคกันเลย (เส้นสีฟ้าเข้มๆในแผนที่คือเส้นทางเทรคของพวกเรา)

 

Carte

 

27 avril Jour 1 :

27 เมษายน วันที่ 1

Pokhara – Jomosom puis Jomosom – Kagbeni – Jharkot en jeep

28 avril Jour 2 :

28 เมษายน วันที่ 2

Jharkot – Jhong – Gyu La – Tetang – Chhusang – Chele

6h (เวลาที่ใช้ในการเดิน/ชั่วโมง) / + 700m. (ascension) (ระยะทางขึ้น) / -1100m. (descente) (ระยะทางลง)

 

29 avril Jour 3 :

29 เมษายน วันที่ 3

Chele – Samar – Chungsi cave – Syangmoche

5h / + 700m. / -500m.

 

30 avril Jour 4 :

30 เมษายน วันที่ 4

Syangmoche – Ghilling – Ghemi (par les crêtes)

6h / + 800m. / -800m.

 

1 mai Jour 5 :

1 พฤษภาคม วันที่ 5

Ghemi – Akiama – Crêtes de Dhakmar – Tsarang par les plateaux

5h / + 583m. / – 525m.

 

2 mai Jour 6 :

2 พฤษภาคม  วันที่  6

Tsarang – Dhi La – Lo La

6h / + 886m. / -634m.

 

3 mai Jour 7 : Lo Monthang (Tiji)**

3 พฤษภาคม  วันที่ 7  : เทศกาลทิจิ ณ เมือง โลมานตาง

Lo Monthang – Chhoser  – Bharcha

6h / + 800m. / -600m.

 

4 mai Jour 8 :

4 พฤษภาคม  วันที่ 8 

Bharcha – Montagne blanche – Lo Monthang (Tiji)**

5h / + 500m. / -400m.

 

5 mai Jour 9 :

5 พฤษภาคม วันที่ 9

Lo Monthang (Tiji)**

 

6 mai Jour 10 :

6 พฤษภาคม วันที่ 10

Lo Monthang – Konchaling

7h30 / + 767m. / -743m.

 

7 mai Jour 11 :

7 พฤษภาคม  วันที่ 11

Lo Monthang – Ghar gompa – Tsarang

5h30 / + 629m. / -833m.

 

8 mai Jour 12 :

8 พฤษภาคม  วันที่ 12

Tsarang – Dhechyang khola – Tangge

5h / + 500m. / -800m.

 

9 mai Jour 13 :

9  พฤษภาคม  วันที่ 13

Tangge – Kog – Camp Samena khola

10h/ + 1473m. / -956m.

10 mai Jour 14 :

10 พฤษภาคม  วันที่ 14

Camp Samena khola – Baha La – Chhusang

8h30 / + 993m. / -1769m.

11 mai Jour 15 :

11 พฤษภาคม  วันที่ 15

Chhusang – Jomosom

3h de bus ou de jeep.

12 mai Jour 16 :

12 พฤษภาคม  วันที่16

Jomosom – Pokhara

รอติดตามตอนต่อไปที่เราจะมาเล่าให้ฟังว่าเทรคแต่ละวันนั้นเป็นยังไงบ้าง  🙂

Author

Laisser un commentaire

Votre adresse de messagerie ne sera pas publiée. Les champs obligatoires sont indiqués avec *

CommentLuv badge