Visite de ville rose : Jaipur  ชัยปุระ เมืองสีชมพู

Visite de ville rose : Jaipur ชัยปุระ เมืองสีชมพู

Jaipur..

ชัยปุระ เมืองสีชมพู

Nous sommes arrivés à l’aéroport de New Delhi le 17 mars 2014 dans la matinée, accueillis par notre chauffeur. Avant d’aller à Jaipur, nous avons visité le temple Iscon dans le quartier de Kalkaji pour assister à la fête de Holi (la fête des couleurs). À l’entrée du temple, nous avons dû passer le contrôle de sécurité avec d’un côté les hommes et de l’autre côté les femmes. En attendant dans la queue avec patience, j’ai vu une foule de femmes indiennes se précipiter et passer devant moi !!! Mais c’est quoi ça !! Voilà voilà la première impression. Bienvenue en Inde !!! .. À l’intérieur du temple, nous avons vu les femmes préparer les fleurs. Quand je regardais ce qu’elles faisaient, un homme (je pense que ça devait être un prêtre hindou) a versé un liquide blanc dans ma main en me disant “Drink drink” ehhhhh. Est-ce que je dois vraiment boire ? Je ne sais pas ce que c’est et je n’ose pas boire n’importe quoi. Pour être poli, je fais semblant de boire, dire merci et je pars tout de suite. Le guide m’a dit que je n’étais pas obligée de boire si je n’en voulais pas. Bon tant mieux ! Après avoir pris le déjeuner à New Delhi, nous avons poursuivi la route pour Jaipur. Que le voyage commence (sous la chaleur et le bruit de klaxon) !! Nous sommes arrivés à Jaipur le soir.

เรามาถึงสนามบินที่นิวเดลีในเช้าของวันที่ 17 มีนาคม 2557  คนขับรถ (ผู้ซึ่งจะเป็นคนพาเราไปยังเมืองต่างๆเกือบตลอดทริป) ก็มาต้อนรับเราที่สนามบินพร้อมพวงมาลัยใหญ่สีเหลือง แหม่ ถ้ามีแบงค์ติดมาด้วยนี่คิดว่าพ่อยกมาเองเลยนะเนี่ย ก่อนที่เราจะออกเดินทางไปยังเมืองชัยปุระ เราก็ไปยังวัดๆนึงในนิวเดลีกันก่อน ชื่อว่าวัด Iscon (น่าจะออกเสียงว่า « อิสค่อน ») ในย่านกาลกาจิ วันนี้มีเทศกาลโฮลีพอดี เราจึงอยากจะไปดูบรรยากาศว่าชาวอินเดียเค้าเฉลิมฉลองกันยังไง พอไปถึงปุ๊บ ก็จะมีการต่อคิว ตรวจเช็คสิ่งของกันก่อนเข้าวัด ซึ่งก็จะมีการแยกแถวหญิง ชาย เราก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบของวัดนะคะ ในระหว่างที่เราต่อแถวอยู่นั้น สายตาเราก็เหลือบไปเห็นผู้หญิงอินเดียกลุ่มนึงวิ่งกรูเข้ามาทางเรา พร้อมกับแซงอย่างหน้าตาเฉย เฮ้ยยยย !!!!! ณ จุดนั้นคือ ง.งู สองตัว งงมากๆๆ อึ้ง ทำไรไม่ถูก จะไปคุยกับพวกนางก็คุยกันไม่รู้เรื่อง ไอเราก็ได้แค่คำว่า « นะมัสเต » ก็คงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป มาถิ่นเค้า จะไปทำอะไรได้ ฮือๆๆๆ « ยินดีต้อนรับสู่อินเดียอย่างเป็นทางการค่ะ » !!!!  เอาล่ะ พอเข้ามาในวัด ก็เห็นผู้หญิงอินเดียกำลังเตรียมดอกไม้ ในขณะที่กำลังเคลิบเคลิ้มกับบรรยากาศอยู่นั้น ก็มีผู้ชายคนนึงเข้ามาหา (น่าจะเป็นพระในศาสนาฮินดู) ท่านก็หยดน้ำสีขาวๆคล้ายนมใส่ในมือเรา พร้อมพูดว่า « ดริ้งค์ ดริ้งค์ » แปลเป็นไทยก็คือ ดื่มเถอะโยม ดื่มๆ  แต่ช้าาาแต่ อิชั้นเพิ่งมาถึงอินเดียวันแรก ยังไม่อยากป่วยหรือท้องเสียตอนนี้ สรุปก็คืออิชั้นไม่กล้าดริ้งค์เจ้าค่ะ แต่จะปฏิเสธก็ไม่ได้ พระท่านจ้องเขม็งดูว่าเราจะดื่มรึเปล่า คือถ้าเราไม่ดื่มนี่คงจะเสียมารยาทอย่างแรง เอาล่ะ เราก็สวมบทบาทนักแสดงทำท่าดื่มค่ะ แต่ไม่ได้เอาเข้าปากหรอก มันก็ไหลย้อยอยู่ริมๆฝีปากนั่นแหละค่ะ เราก็รีบบอกขอบคุณเพื่อไม่ให้ท่านเห็นพร้อมกับเดินจากไปทันที หลังจากนั้นเราก็ไปถามไกด์ที่ดูแลเราที่นิวเดลี ไกด์ก็บอกว่าเราไม่จำเป็นต้องดื่มก็ได้ถ้าเราไม่ต้องการ โอเคค่ะ ถึงบางอ้อ  เอาล่ะ พอเสร็จสิ้นการเดินชมวัด เราก็ไปกินอาหารกลางวันแล้วก็เริ่มเดินทางไปเมืองชัยปุระภายใต้เสียงแตรสนั่นหวั่นไหวและอากาศที่ร้อนมากถึงร้อนที่สุด  เรามาถึงชัยปุระในตอนเย็นเกือบค่ำ จำได้ว่าคืนนั้นสลบเหมือดเลยค่ะ เกริ่นมานาน เรามาเริ่มเที่ยวเมืองชัยปุระในวันรุ่งขึ้นกันเลยนะคะ

Jaipur est surnommée “la ville rose” (eh oui, comme Toulouse). C’est la capitale du Rajasthan et fut construite au XIème par le Maharadja Jai Singh II à qui la cité doit son nom (Maharadja est le mot utilisé pour appeler le roi).

เมืองชัยปุระ หรือ เมืองสีชมพู (เหมือนเมืองตูลูสที่ฝรั่งเศสเลยค่ะ) ถือได้ว่าเป็นเมืองหลวงของแคว้นราชาสถาน เมืองนี้สร้างโดยมหาราชา ชัย ซิงห์ ที่ 2 ในสมัยศตวรรษที่ 11 ซึ่งชื่อเมืองนี้ก็ได้มาจากชื่อมหาราชาพระองค์นี้แหละค่ะ และคำว่า « ปุระ » ก็แปลว่า « เมือง » ค่ะ

Le lendemain, le guide à Jaipur est venu nous chercher après le petit déjeuner pour la visite de la ville. Nous avons visité le Fort d’Amber qui est situé à 8 km du centre de Jaipur. Pour monter au fort, nous avons fait l’ascension à dos d’éléphants. La vue est impressionnante !! Je vous laisse découvrir les photos du palais et la vue autour du Fort.

ไกด์มารับเราที่ที่พักในเช้าวันรุ่งขึ้น เราได้เยี่ยมชมพระราชวังแอมเบอร์ฟอร์ท ซึ่งห่างจากเมืองชัยปุระประมาณ 8 กิโลเมตร พอไปถึง ก็เห็นคิวต่อแถว (อีกแล้ว) แต่คราวนี้ไม่มีการแซงใดๆค่ะ (โล่งอกไปที อิอิ) เป็นการต่อแถวเพื่อขึ้นหลังช้าง ไกด์ได้จัดแจงให้เราขึ้นหลังช้างเพื่อไปชมพระราชวังที่อยู่ข้างบนค่ะ ลองมาดูรูปบรรยากาศรอบๆพระราชวังกันนะคะ

Fort amber à Jaipur

 

File d'attente à Fort Amber

 

Ascension à dos d'éléphant

Lors de l’ascension à dos d’éléphant, plusieurs photographes nous ont pris en photo pour essayer de nous les vendre plus tard mais nous avons refusé. Nous avons quitté le Fort pour prendre le déjeuner. Dans la voiture, j’ai remarqué qu’un homme nous a suivi en scooter pour nous essayer de nous vendre des photos de nous qu’il avait prise ! Bon, je peux vous dire que les indiens ne perdent pas l’espoir facilement. En tout cas, nous avons fait signe que les photos ne nous intéressent pas.

ตอนที่อยู่บนหลังช้างนั้น ก็มีช่างถ่ายรูปมากมายมาถ่ายรูปเรา แหม ทำอย่างกับว่าเราเป็นซูเปอร์สตาร์บอลลีวู้ดอย่างงั้นแหละ แต่ๆๆๆ ไม่ใช่ค่าา เค้าต้องการที่จะนำรูปนั้นมาขายให้เรา แต่เราก็ปฏิเสธไปค่ะ พอเยี่ยมชมพระราชวังเสร็จ เราก็เตรียมตัวไปทานอาหารกลางวันค่ะ ระหว่างที่เรานั่งอยู่บนรถนั้น ก็เห็นชายหนุ่มคนนึงแว้นมอเตอร์ไซค์มาเลียบๆข้างๆรถเรา พร้อมกับโชว์รูปของเราบนหลังช้าง โอ้ววว !!!!! นี่ถึงขึ้นขับแมงกะไซค์ตามเรามาเลยหรือนี่ คนอินเดียนี่เค้าไม่หมดความหวังง่ายๆจริงๆค่ะ แต่เราก็ทำไม้ทำมือปฏิเสธไป 

B65A0464_1

B65A0493_1

 

Dans l’après-midi, le guide nous a emmené à Jantar Mantar, un site d’observation astronomique construit par le roi Jai Singh II. En quittant le lieu, un homme s’est rapproché de nous pour nous montrer…. Vous pouvez deviner ??….. Ouiiiiiiii, c’étaient nos photos au dos d’éléphant !!! Mais le gars a filé nos photos à tout le monde à Jaipur ?! Mais en vain, nous n’avons pas acheté les photos.

ในตอนบ่าย ไกด์ก็ได้พาเราไปที่จันตาร์มันตาร์ ซึ่งเป็นหอดูดาวที่สร้างขึ้นโดยมหาราชาชัย ซิงห์ที่ 2 ในศตวรรษที่ 18 หอดูดาวแห่งนี้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปีค.ศ.2010  เอาล่ะ เมื่อเยี่ยมชมหอดูดาวเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลากลับ แต่ช้าแต่ มีชายคนนึงเดินเข้ามาหาเรา พร้อมกับ …. เดากันได้มั้ยคะว่าชายคนนี้จะมาทำอะไร ตึง ตึ่ง ตึ๊ง  ชายคนนี้เอารูปมาโชว์ให้พวกเราดูจ้า ซึ่งรูปพวกนั้นก็คือรูปพวกเราบนหลังช้างนั่นเอง !!!!! รูปยังเหมือนเดิม ที่เปลี่ยนแปลงไปคือหน้าชายคนนั้น นี่คือถึงขั้นมีการส่งมอบรูปพวกเรามาจนถึงที่นี่เชียวหรือ !!!!  อยากจะบอกว่าคนอินเดียมีความพยายามอย่างมากกกกกกก จริงๆๆๆ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ เราก็ไม่ซื้อจ้าา (นี่ไม่รู้ว่าจะส่งมอบรูปเราไปจนถึงเมืองอื่นอีกรึเปล่า)

B65A0535_1

 

B65A0536_1

 

B65A0531_1

 

Avant de quitter Jaipur, nous avons voulu prendre une petite photo du Palais des Vents (Hawal Mahal), construit en 1799, qui n’est qu’une façade. Chaque fenêtre de ce palais permettait aux femmes du roi de voir le monde à l’extérieur sans être vue.

ก่อนที่เราจะจากเมืองชัยปุระ เราก็ขอไปแชะรูปกันซักหน่อยกับพระราชวังฮาวามาฮาล หรือ พระราชวังแห่งสายลม พระราชวังนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1799  แต่เดิมนั้น สร้างเพื่อให้นางสนมในวังเฝ้าดูชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองจากในวัง ซึ่งหน้าต่างทุกบานออกแบบมาอย่างดี คนภายนอกไม่สามารถมองเห็นคนภายในได้ แต่คนภายในสามารถมองเห็นคนภายนอกได้นะจ๊ะ

B65A0567_1

 

Nous avons quitté Jaipur pour dormir dans un fort datant de 1675 à Barli. L’accueil était très chaleureux. Le dîner à deux le soir était vraiment succulent !!

เราออกจากเมืองชัยปุระในตอนเย็นเพื่อมุ่งหน้าไปสู่ที่พักของเราค่ำคืนนี้ในปราสาทป้อมชัยปราการที่สร้างมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1675 ที่บาร์ลี พอไปถึงปุ๊บ ทุกคนให้การต้อนรับอย่างดีมาก ความจริงแล้ว เค้าได้เตรียมสปานวดอายุรเวทให้ด้วย แต่เนื่องจากเรามาถึงตอนค่ำ คนนวดก็กลับไปแล้ว (ซึ่งเป็นความผิดของพวกเราเองที่มาถึงช้า) รู้สึกเสียดายมากๆ เพราะในชีวิตนี้ยังไม่เคยลองนวดแบบนี้เลย ยังไงก็แล้วแต่ เราก็ปลอบใจตัวเองด้วยการกิน  อาหารค่ำมื้อนั้นอร่อยมากๆ (ตามภาพเลยจ้า)

B65A0588_1

 

Avant de quitter Barli pour Udaipur, nous avons fait une petite promenade dans le village à côté de notre fort. Nous avons croisé beaucoup d’écoliers qui étaient en train d’aller à l’école à pieds. Il y a un groupe d’enfants qui nous a proposé de visiter leur école et bien sûr nous avons accepté !!

ในตอนเช้า ก่อนที่จะออกเดินทางไปยังเมืองอุทัยปุระ เราก็นึกอยากออกไปเดินเล่นรอบๆที่พัก ดูชีวิตความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้าน เวลาเดินไปก็มีแต่คนจ้องมอง เค้าคงจะไม่ชินกับการที่เห็นนักท่องเที่ยวมาเดินในหมู่บ้าน แต่งตัวก็แปลกประหลาดไม่เหมือนกับพวกเค้า เดินไปซักแปร็บบบ ก็มีกลุ่มเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งเข้ามาคุยแล้วก็ชวนให้ไปเที่ยวโรงเรียนพวกเค้า เราก็ตอบตกลงทันที !!

B65A0613_1

 

Nous avons été super bien accueillis par les professeurs et le directeur d’école. Ils nous ont proposé du thé et d’assister à la cérémonie du matin. C’est la même cérémonie que dans mon pays, la Thaïlande. C’est à dire que nous chantons l’hymne national et nous faisons la prière tous les matins. Mais nous ne le faisons plus quand nous allons à l’université. Bon, revenons à l’école à Barli, chaque élève qui arrive en retard doit toucher son front avec sa main puis toucher les pieds des professeurs. Et ils ont fait ça même avec nous. À mon avis, ça doit être le signe de respect et d’excuse. Après la cérémonie, une professeure a choisi les élèves pour leur poser des questions concernant le cours. Il faut bien réviser avant de venir à l’école !!

เมื่อไปถึงโรงเรียน อาจารย์ ผอ.โรงเรียน ทุกคนให้การต้อนรับเราดีมาก นำชามาเสิร์ฟพร้อมกับเชิญให้พวกเรานั่งดูพิธีการตอนเช้า เห็นแล้วก็นึกถึงตัวเราสมัยเรียนมัธยมที่จะต้องมาร้องเพลงชาติ สวดมนต์ทุกเช้า  ซึ่งโรงเรียนที่อินเดียก็ทำเหมือนกับพวกเราเลย เด็กนักเรียนที่มาสายก็จะนำมือแตะหน้าผากตัวเองแล้วก็ไปแตะเท้าอาจารย์ แล้วก็ทำเช่นเดียวกันกับพวกเราอีกด้วย สำหรับเรา มันน่าจะเป็นเหมือนการขอโทษที่มาสาย เอาล่ะ หลังจากที่เสร็จสิ้นพิธี อาจารย์ก็เรียกเด็กนักเรียนรายตัว (ตามภาพข้างล่าง) เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมา เอ้า !! เด็กนักเรียนทั้งหลาย ก่อนมาโรงเรียนต้องทบทวนอ่านหนังสือมาด้วยนะจ๊ะ 

B65A0617_1

 

B65A0618_1

 

Quand tout est terminé, les élèves sont allés dans la classe. Le directeur nous a fait visiter chaque classe et nous avons pris des photos avec les élèves. Nous avons proposé la contribution à l’école mais ils ont refusé. Si vous passez par ce petit village, n’oubliez pas de visiter “Vijayshree Public School Barli”. C’est marqué “L’école publique” mais ce mots désigne “l’école privée” en Inde.

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการตอนเช้า ก็ถึงเวลาเข้าห้องเรียน ผอ.ก็พาเราเยี่ยมชมแต่ละชั้นเรียน เราอยากจะบริจาคเงินสนับสนุนโรงเรียน แต่ผอ.คนนี้ก็ปฏิเสธไม่รับ  ถ้าเพื่อนๆคนไหนได้มีโอกาสมาที่หมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ ก็อย่าลืมมาเยี่ยมชมโรงเรียน Vijayshree Public School Barli กันนะคะ ตอนแรกเราคิดว่าเป็นโรงเรียนรัฐบาลเพราะเห็นคำว่า Public แต่ในอินเดียนั้น คำนี้หมายถึงโรงเรียนเอกชนค่ะ

B65A0625_1

 

B65A0630_1

 

Ensuite, nous avons quitté Barli pour poursuivre la route jusqu’à Udaipur.

ได้เวลาจากเมืองบาร์ลีเพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองอุทัยปุระค่ะ

Author

Laisser un commentaire

Votre adresse de messagerie ne sera pas publiée. Les champs obligatoires sont indiqués avec *

CommentLuv badge